คำถามที่พบบ่อย

ความรู้เกี่ยวกับเครื่องโอโซน


 
โอโซน คือรูปหนึ่งของก๊าซออกซิเจนที่มีพลัง (Active Oxygen) สามารถทำปฏิกิริยาออกซิเคชั่นกับสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ได้เกือบทุกชนิดทั้งในน้ำและในอากาศ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่รุนแรงและเร็วกว่าคลอรีนถึง 3,125 เท่า โอโซนจะเข้าไปจับโมเลกุลของสารปนเปื้อน และทำการแยกย่อยสลาย โดยการเปลี่ยนโครงสร้างของสารนั้น โอโซนเป็นก๊าซที่มีโครงสร้างไม่เสถียร หลังทำปฏิกิริยา โอโซนจะแปรสภาพกลับเป็นก๊าซออกซิเจนซึ่งไม่เป็นอันตราย หรือส่งผลกระทบใดๆ ต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม
หลังจากที่โอโซนจับตัว และออกจากเครื่องผลิตโอโซนไปกระจายอยู่ภายในห้อง โอโซน จะเปลี่ยนสภาพกลับมาเป็นออกซิเจน(O2) ทันที โดยขั้นตอนต่างๆ เนื่องจากว่าโอโซนเป็นสารเคมีที่มีลักษณะไม่มั่นคง ซึ่งจะทำให้เพิ่มแรงในขั้นตอนการทำปฏิกิริยาจากออกไซด์กับตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่น สะสารต่างๆ จะถูกย้ายโดยโอโซน โอโซนจะเปลี่ยนเป็นออกซิเจน [O2] ภายใน 30 นาที ด้วยจำนวนที่เท่ากับครึ่งหนึ่งของระดับของตัวมันเองหมายความว่าภายในระยะเวลา 30 นาที จะมีส่วนที่เหลือเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เป็นหลักการเดียวกันกับเราขาคณิตที่ลดจำนวนทีละครึ่ง เช่น 16,8,4,2,1 ในทางปฏิบัติครึ่งหนึ่งของวงจรของ โอโซน มักจะน้อยกว่า 30 นาทีของแบคทีเรียและสิ่งที่มีชีวิตอื่นๆ ในอากาศ แต่ในขณะเดียวกัน โอโซน ก็มีพลังงานพอที่จะทำให้งานที่มันปฏิบัติอยู่สำเร็จลุล่วงได้.
ก๊าซโอโซนมีปฏิกริยาออกซิไดซ์รุนแรงมาก ซึ่งจะทำลายเซลล์เนื้อเยื่อของเชื้อโรคแบบเฉียบพลันโดยเฉพาะเชื้อ แบคทีเรียจะตายภายใน 2 นาที ในขณะที่คลอรีนจะใช้เวลาถึง 4 วัน ทั้งนี้การใช้งานในส่วนของงานอุตสาหกรรมต้อง ออกแบบให้เหมาะสมโดยวิศวกรที่ชำนาญงานเท่านั้น ถ้านำไปใช้อย่างไม่ถูกวิธีจะไม่เกิดประโยชน์ ทำให้สูญเสียเงิน และจะเข้าใจว่าโอโซนใช้แล้วไม่ได้ผล ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กันของปัจจัยต่อไปนี้คือ
  • ปริมาณก๊าซโอโซนที่ออกมาจากเครื่องผลิตต้องออกมาเต็มประสิทธิภาพ
  • ปริมาณน้ำ และปริมาณสิ่งเจือปนในน้ำ (Type and Volume)
  • การผสมโอโซนกันน้ำ (Mixing Method)
  • เวลาที่ก๊าซโอโซนละลายน้ำ (Contact Time)
  • อุณหภูมิ (Temperature)
  • ค่า pH ของน้ำที่ต้องการบำบัด
ปริมาณโอโซนกับการกําจัดเชื้อโรคต่างๆ
  • 1. ไวรัส ปริมาณโอโซน 0.5 - 1.5 P.P.M.(0.982 mg/m3 หรือประมาณ 1 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร) สามารถกําจัดเชื้อไวรัสได้99% โดยระยะเวลาการฆ่าเชื้อต้องไม่น้อยกว่า 4 นาที*
  • 2. แบคทีเรีย ปริมาณโอโซนที่ใช้ในการกําจัดเชื้อแบคทีเรียขึ้นอยู่กับชนิด และปริมาณของแบคทีเรีย โดยทั่วไปโอโซนเข้มข้น 10 P.P.M.(19.682 mg/m3 หรือประมาณ 20 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร) สามารถกําจัดเชื้อแบคทีเรียได้99% โดยระยะเวลาการฆ่าเชื้ออย่างน้อย 10 นาที
  • 3. เชื้อรา ปริมาณโอโซนที่ใช้กับเชื้อราจะต้องใช้ปริมาณโอโซนมากกว่าการใช้กับเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากเชื้อรามีการ สร้างสปอร์ฉะนั้นในการกําจัดเชื้อรา 99 % ต้องใช้ปริมาณ 20 P.P.M.(39.264 mg/m3 หรือประมาณ 40 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ที่ระยะเวลาการฆ่าเชื้อ อย่างน้อย 30 นาที*ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ
  • คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กำหนดค่าเฉลี่ยของก๊าซโอโซนใน 1 ชม.ต้องไม่เกิน 0.10 ppm หรือไม่เกิน 0.20 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร อ้างอิง

    1. เครื่องฟอกอากาศโดยทั่วไปใช้วิธีกรองความสกปรกอากาศด้วยแผ่นกรอง เน้นฝุ่นละอองเป็นหลัก

    • ประสิทธิภาพการทำงานขึ้นกับแรงดูดอากาศของพัดลมและคุณภาพของแผ่นกรอง
    • ข้อจำกัด คือ ฟอกอากาศได้เฉพาะในส่วนของอากาศที่ดูดเข้าเครื่องได้ จึงไม่สามารถฟอกอากาศ ณ. ซอกมุมอับ หรือกลิ่นที่ติดผนัง พรม เฟอร์นิเจอร์ได้

    2. เครื่องผลิตโอโซน เน้นการกำจัดกลิ่นอับชื้นและกระจายก๊าซโอโซนไปฆ่าเชื้อโรค สลายกลิ่น สลายก๊าซพิษได้ทั่วทั้งห้องรวมถึงภายในเครื่องปรับอากาศ

    • ข้อจำกัด คือการใช้โอโซน ไม่เหมาะกับการสูดดมตรงๆ และไม่เน้นเปิดทั้งวันเพราะโอโซนมีสภาพเป็นกรดและมีกลิ่นคล้ายคาวปลา เครื่่องโอโซนทุกรุ่นจะต้องทีตัวตั้งเวลาขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานนั้นๆ

    สิ่งที่มีประโยชน์ จะมีข้อจำกัดในการใช้งาน หากราสูดดมตรงๆ มากๆ อาจเกิดการระคายเคืองเล็กน้อย แต่ไม่ถึงกับเป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยการเปิดโอโซนควรเปิดในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งเราสามาถนั่งอยู่ได้ปกติ หรือหากมีกลิ่นฉุนมากเกินไปก็ควรปิดเครื่องสักพักเพื่อให้โอโซนแตกตัวในระยะเวลา 8 วินาที- 30นาที

    เราให้คำแนะนำคุณได้!

    เราสามารถให้คำแนะนำด้านการใช้งาน ติดตั้ง หรือปรึกษาวิธีการใช้งานกับคุณได้

    ติดต่อเราตอนนี้!

    02-4444-001